วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันพฤหสบดี ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555

*-*  อาจาร์ได้แนะนำการสมัครโทรทัศน์ครู

*-*  ดู vdo จากรายการโทรทัศน์ครู ผ่านทาง yotobe เกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน " เรื่องหนูน้อยหมวกแดง"

       สิ่งที่ได้จากการดู คือ

*-*   ได้รู้จักการใช้เทคนิคที่ครูใช้ ในการเริ่มเรื่อง เป็นขั้นนำ

*-*  ครูจะออกแบบิจกรรม ให้สอดคล้องกับนิทาน เด็กก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข สิ่งที่สามารถบอกได้ว่าเด็กสนใจนิทานเรื่องใดนั้น "สามารถสังเกตได้จากการยืม"

*-*  ครูจะต้องส่งเสริมให้มีกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

*-*  ก่อนที่เด็กจะทำการแสดงละคร เด็กจะต้องตีความของฉากว่าเป็นอย่างไร และจะต้องจัดอันดับของเรื่องให้ได้ก่อน

*-*  ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

*-*  บทบาทครูและต้องสนับสนุนให้เด็กมีส่วนร่วม เพราะเด็กทุกคนจะคิดว่าตัวเองสำคัญ

กิจกรรมเพลงและดนตรี

เกี่ยวกับการใช้ภาษา คือ การทำจังหวะ  การฟัง  การออกเสียง  เสียงสั้น - เสียงยาว โทนเสียง (ล่าง กลาง ต่ำ)

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

*-* ต้องยึกผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  โดจยเชื่อมโยงเอาองค์ประกอบภาษามาใช้

*-*  ช่วงวัย 3 ขวบ เป็นช่วยให้ข้อมูลฐาน เพราะเป็นช่วงด้านภาษา

งานที่ได้รับมอบหมาย

ให้หาความหมายของ อิทธบาท 4




วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

นำเสนอ Power Point การเล่านิทานให้เด็กฟัง แล้วตั้งคำถามกับเด็ก

สิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติ่ม

1. เรื่องทรงผม (ก่อนนำเสอนทุกครั้งจะต้องมัดผมให้เรียบร้อย)

2. การพูดที่ถูกต้อง การออกเสียง ตัว ร

สิ่งทีเพื่อเพิ่มเติม

*-*  การวางรูปแบบสวยงาม

ความรู้เพิ่มเติม

*-*  อย่าคาดหวังเด็กอายุเท่ากันจะมีผลพัฒนาการที่เท่ากัน เพราะเด็แต่ละคนมีความแต่กต่างกัน


บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

*-*   วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Power Poit เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป เนื่องจากอาจารย์จะต้องไปส่งพี่ฝึกงานที่ ลำลูกกา


บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี  ที่ 29 ธันวาคม  พ.ศ. 2554

*-*    อาจารย์ได้สั่งงาน  และให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเอง  ส่ง (ภาษาใต้) อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆโรงเรียน  สาธิต จันเกษม

ภาษาไทยถิ่นใต้ 
ภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิสและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะ
พืช ผัก ผลไม้
มะม่วงหิมพานต์ = กาหยู (เทียบอังกฤษ cashew) , กาหยี (ใช้มากในแถบ ภูเก็ต พังงา คำนี้เข้าใจว่าคนใต้ฝั่งตะวันตกจะรับมาจากฝรั่งโดยตรง ) , ยาร่วง, ย่าโห้ย, ย่าหวัน, หัวครก (ใช้มากแถบพัทลุง สงขลา) , ม่วงเล็ดล่อ, ท้ายล่อ

ชมพู่                        = ชมโพ่แก้ว, น้ำดอกไม้, ชมโพ่น้ำดอกไม้
ฝรั่ง                          = ชมโพ่ ยาหมู่ หย้ามู้ (คำนี้มาจาก jambu ในภาษามลายู )
ฟักทอง                    = น้ำเต้า
ฟัก                           = ขี้พร้า
ขมิ้น                        = ขี้หมิ้น
ตะไคร้                     = ไคร
พริก                         = ดีปลี โลกแผ็ด ลูกเผ็ด
ข้าวโพด                  = คง (คำนี้มาจาก jagong ในภาษามลายู )
มะละกอ                  = ลอกอ
สับปะรด                 = หย่านัด (คำนี้ ใช้ทั่วไปทั้งภาคใต้ บางครั้งจะออกเสียงเป็นหย่าน-หัด; คำ นี้เข้าใจว่าคนใต้รับมาจากฝรั่งโดยตรง โดยฝรั่ง รับมาจากภาษาอินเดียนแดงแถบบราซิล ซึ่งเรียกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ว่า อนานัส เมื่อถ่ายทอดเสียงมาถึงปักษ์ใต้ จึงกลายเป็น หย่านัด) มะ-หลิ (คำนี้ใช้มากในเขตจังหวัดพัทลุง อำเภอรัตภูมิ อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด ของจังหวัดสงขลา)
ดอกมะลิ                  = ดอกมะเละ (เสียง อิ แปลงเป็นเสียง เอะ)
แตงโม                     = แตงจีน
ตำลึง                        = ผักหมึง
รสสุคนธ์                 = เถากะปด (ประจวบคีรีขันธ์), ย่านปด, ปดคาย
หม้อข้าวหม้อแกงลิง = หม้อลิง






บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

*-*   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษารายงาน งานที่ได้รับมอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้วหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิด วิดีโอและอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา

*-*   ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา  ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ ภาษาที่สองมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็ก

       กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื่อต่อความต้องการของเด็ก

งานที่ได้รับมอบหมาย

*-*   ให้เล่านิทานให้เด็กฟังพร้อมตั้งคำถามเด็ก และบันทึกมาส่งอาจารย์

*-*   ให้นักศึกษาที่พูดเกี่ยวกับเรื่องของภาษา 1 คน กล่าวไว่ว่าอย่างไร


*-*   (อาจารย์ได้แนะนำให้ไปอ่าน จิตวิทยาการเรียนรู้ ในการเรียนการสอนมีอะไรบ้าง)

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดี ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ 2554

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

*-*  ภาษา  คือ  ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน 

*-*  การจัดประสบการณ์ทางภาษา คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่าเนื่อง และคือการพัฒนาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม ทั้ง 4 ด้าน

*-*  วิธีการเรียนรู้  คือ  การสังเกต  การสัมผัส  การฟัง  การดมกลิ่น  การลิ้มรส  และถ้าให้อืสระแก่เด็กต้องให้อิสระการจัดประสบการณ์ มีเทคนิค การประเมิน รูปแบบ  สื่อหลักการ  ขั้นตอนงานที่ได้รับมอบหมาย

*-*ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กพร้อมวีดีโอ ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมรายงาน

บันทึกการรียนครั้งที่ 1

วัน พุธ ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2554

*-* ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ ติดประชุม

*-* อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้ซื้อต้นดาวเรือง คนละ 1 ต้น