วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดี ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ให้ได้เเก้ไขงาน   หนังสือนิทาน มัน คือ อะไร

เเละบัตรคำ


-คำเเนะนำ
1.ตัวหนังสือคสรให้อยู่ตรงกลาง
2.ภาพที่วาดกับคำควรให้สอดคล้องกัน
3.ตัวอักษรทุกตัวควรมีหัว

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2555

วันนี้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่เเล้ว

-หัวข้อ ใน บ้าน มี อะไร



ในบ้านมี โทรทัศน์ ผลงานของ น้อง สตางค์

ในบ้านมี ตู้เย็น ผลงานของ น้องต้นกล้า

ในบ้านมี พัดลม ผลงานของ น้องต้นข้าว
ข้อเสนอเเนะ
-หน้าปกสวยงาม
-ควรเขียนบันทึกด้านหลัง
-หน้าสุดท้าย บทสรุป ควรเขียนให้สั้นกว่านี้
เครื่องใช้ในบ้านต้องดูเเลรักษาจะได้ใช้นานๆ

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
  
         - อาจารย์ให้นำเสนองาน ที่ไปทำกิจกรรมกับน้อง โดยให้น้องตัดแปะรูปภาพ ในหัวข้อเรื่อง เธอชอบกินอะไร

ข้อเสนอแนะของอาจารย์   
         - หน้าปกตัวหนังสือต้องใหญ่กว่านี้ และในหน้าปกจะต้องมีรูปภาพด้วย
         -ควรจะทำร่วมกับน้องไม่ควรทำเป็นตัวอย่าง
         -คำว่า KFC ไม่ใช่แค่ไก่ทอด  เพราะ  KFC นั้นมีหลายอย่าง  เช่น แป๊บซี่
         -ต้องหาอาหารหลายๆอย่างให้น้องเลือกมากกว่านี้  หรือวางสิ่งอื่นให้เด็กดูความแตกต่าง
         -อาจารย์ยกตัวอย่าง   "อะไรเอ๋ย"   ให้ดู รุปแบบการทำว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง
         -อาจารยืยกตัวอย่างการเขียน  ก - ฮ  ให้ดู  ว่าจะต้องเขียนหัวกลม  หัวเหลี่ยมอย่างไร

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันที่18  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2555
         
         - อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แล้วเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องราวเดียวกันให้ได้
         - อาจารย์ห้วาดรูปแทนคำพูดให้เป็นประโยคหรือข้อความ แล้วให้เพื่อนทายว่าคืออะไร
         - อาจารย์ให้บอกชื่อของตัวเองพร้อมทำท่าทางประกอบ แล้วให้เพื่อนคนต่อไปทำท่าของเพื่อนแล้วจึงทำท่าของตัวเอง
         - อาจารย์ทบทวนเรื่องของลักษณะของภาษา เนื่อหาของภาษาและรูปแบบของภาษา

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันที่ 16  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
        
       - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องงานกีฬาสีและได้สอนในเรื่องของการทำหนังสือภาพคือ

      เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า  เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแปะลงบนกระดาษที่เตรียมไว้และถ้าเรา ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต้องมีสมรรมหรือเปล่า

        - อาจารย์ได้พูดถึงการทำกิจกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม
        - อาจารย์ได้พูดถึงการแต่งการและก็การพูดจากับผู้ใหญ่
        - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง blogger ว่าจะต้องมีสมาชิกครบ พร้อมทั้งลง VDO และรูปกิจกรรมที่ถ่ายทั้งหมด

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันที่ 9  กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

        - วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

-ได้ฟังนิทานจาก Ebook
 เทคนิคในการเล่านิทาน

1. ควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อนโดยจินตนาการออกมาเป็นภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความ
2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่ายๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้
3. เมื่อในเนื้อเรื่องมีตัวละครคุยกันให้ใช้บทสนทนา เพราะทำให้เด็กตื่นเต้นกว่า
4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและ
5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมีเอ้อ อ้า ที่นี้ 6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องมีสิ่งเร้าใจก็พูดให้เร็วขึ้นทำท่าจริงจัง

*ในการถามคำถามเด็ก ควรตั้งคำถามที่เปิดกว้าซึ่งจะทำให่เด็กมีอิสระในการตอบ

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
    
      -  ในวันนี้อาจารย์ได้ตกลงเรื่องการแต่งกายมาเรียน   โดยที่อาจารย์ได้พูดว่า  "เครื่องแบบไม่ได้ทำให้พัฒนาสมองให้ดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นการสท้อนถึงองค์กร
      -  อาจารย์เอารูปที่เด็กวาดด้วยคอมพิวเตอร์มาให้ดู  แล้วให้ดูว่า รูปนี้บอกอะไรกับเราได้บ้าง
                 1.  นึกถึงคำหรือภาษาที่เด็กใช้
                 2.  การวาดภาพเห็นถึงพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือ - ตา เพื่อเตรียมการเรียน
                 3.  ได้เห็นถึงความต้องการของเด็ก  เพื่อให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์
                 4.  การเขียนตัวหนังสือ  สามารถเขียนมีหัวได้ถูกต้อง
                 5.  การเขียนชื่อตัวเองได้
                 6.  การสอนเรื่องการลงท้าย ครับ  ค่ะ
รูปเด็กอนุบาล 4 คน กำลังใช้ภาษาสื่อสารกัน
       -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น
      -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี
      -  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก

บลูและลาเฮย์  ให้ความหมายของภาษา  3  ประการ
         1.  ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส  "เด็ก กิน ขนม"
         2.  ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมิติเกี่ยวกับโลก หรือ ประมวลประสบการณ์
         3.  ภาษาเป็นระบบ  ภาษาเป็นระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่  เช่น  มีคำที่เป็นประธาน  กริยา  กรรม

กำชัย  ทองหล่อ  " ภาษาแปลตามรูปศัพท์ "
วิจินตน์  ภานุพงษ์  " เสียงที่มีระบบทำให้เราใช้สื่อสารกัน "

สรุป   ภาษา คือ  สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ  สร้างขึ้น  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน